บล็อกนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องอะไรก็ได้ที่อยู่ในความสนใจ

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

08-08-2553-สรุปการดีเบตระหว่างทีมท่านนายกฯกับเครือข่ายภาคประชาชน

เริ่มแล้ว! ดีเบตไทย-เขมร สดช่อง 11 “มาร์ค” หนีบ “สุวิทย์-ชวนนท์-ศิริโชค” 
คำต่อคำ “มาร์ค” ถกเครือข่ายภาคประชาชน ปัญหาข้อพิพาทพระวิหาร (ช่วงที่ 2
คำต่อคำ “มาร์ค” ถกเครือข่ายภาคประชาชน ปัญหาข้อพิพาทพระวิหาร ช่วงสุดท้าย

'มาร์คเผยแพร่บทความ

'ตอบ'MOU43'ทุกคำถามเวทีพันธมิตร

พระราชดำรัในวันเฉลิมฯ 4 ธันวาคม 2535 ภาษาไทย หน้า 24-27 ข้อพิพาทดินแดนไทย-พม่า-เนิน 491 ที่นายกฯอ้าง
สวนดุสิตโพล เปิดเผยผลสำรวจ ประชาชนคิดอย่างไร กับการชุมนุมประท้วง เขาพระวิหาร 

โดยพบว่า 41.09 % กลัวว่าจะก่อให้เกิดปัญหา ความขัดแย้งที่บานปลายขึ้น
46.77 % ไม่เห็นด้วยกับการออกมาเคลื่อนไหวครั้งนี้ เพราะกลัวว่าจะก่อให้เกิดความขัดแย้งในหมู่คนไทยกันเอง
31.10% เห็นว่าการออกมาชุมนุมครั้งนี้ ทำให้เกิดผลเสียมากกว่า เพราะทำให้สถานการณ์กลับมาตึงเครียดอีกครั้ง
64.16% อยากให้รัฐบาล ใช้การเจรจาขอความร่วมมือกับผู้ชุมนุม
30.2% ในฐานะคนไทย ขอเป็นกำลังใจให้รัฐบาล หรือผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
"อภิสิทธิ์"ยกกระแสพระราชดำรัสแนวทางแก้ปัญหาชายแดน"ขอให้แก้ปัญหาฉันมิตร" กลางเวทีถกแก้ปัญหาพระวิหาร พร้อมวอนทุกฝ่ายหยุดทะเลาะกัน และหันหน้ามาช่วยกัน อย่าทำให้ฝ่ายตรงกันข้ามหัวเราะเยาะ

พล.ท.วีร์วลิต จรสัมฤทธิ์ แม่ทัพภาคที่ 2 กล่าวถึงประเด็นที่นายกรัฐมนตรี ระบุว่า มีการรุกล้ำเข้ามาในเขตพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรของดินแดนไทยนั้น การดำเนินการผลักดันใดๆ ก็ต้องรอคำสั่ง หรือนโยบายที่ชัดเจนจากรัฐบาลเสียก่อน 


 นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ แกนนำของเครือข่ายฯ ขึ้นเวทีประกาศยุติการชุมนุมเครือข่ายประชาชนรักประเทศไทย เนื่องจากเห็นว่า ขณะนี้กลุ่มมวลชนที่สนับสนุนยังมีจำนวนไม่เพียงพอ 

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แบรนด์มูลค่าสูงสุดของโลก'จัดโดย'ฟอร์บส์

จาก Matichon Online: แบรนด์มูลค่าสูงสุดของโลก'จัดโดย'ฟอร์บส์'


สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นิตยสาร"ฟอร์บส์"ฉบับล่าสุด ได้ทำการจัดอันดับบริษัทแบรนด์ดังมียี่ห้อการค้ามูลค่าสูงสุดของโลก 20 อันดับ ประกอบด้วย
1. Apple มูลค่า 57,400 ล้านดอลลาร์
2.Microsolf มูลค่า 56,600 ล้านดอลลาร์
3.Coca-Cola มูลค่า 55,400 ล้านดอลลาร์
4.IBM มูลค่า 43,000 ล้านดอลลาร์
5.Google มูลค่า 39,700 ล้านดอลลาร์
6.Mcdonald มูลค่า 35,900 ล้านดอลลาร์
7.General Electric มูลค่า 33,700 ล้านดอลลาร์
8.Marlboro มูลค่า 29,100 ล้านดอลลาร์
9.Intel มูลค่า 28,600 ล้านดอลลาร์
10.Nokia มูลค่า 27,400 ล้านดอลลาร์
11.Toyota มูลค่า 24,100 ล้านดอลลาร์
12.Cisco มูลค่า 23,900 ล้านดอลลาร์
13.Vodafone มูลค่า 23,500 ล้านดอลลาร์
14.HP มูลค่า 23,400 ล้านดอลลาร์
15.AT@T มูลค่า 22,000 ล้านดอลลาร์
16.BMW มูลค่า 19,900 ล้านดอลลาร์
17.Oracle มูลค่า 19,800 ล้านดอลลาร์
18.Louis Vuitton มูลค่า 19,000 ล้านดอลลาร์
19.Mercedes มูลค่า 18.800 ล้านดอลลาร์
20.Disney มูลค่า 18,500 ล้านดอลลาร์



ขอมมิใช่เขมร !?

ขอมมิใช่เขมร !
หลักฐานที่แสดงความยิ่งใหญ่ของขอมโบราณ ในปี ค.ศ.๑๒๐๐ นับเป็นชาติที่ร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จากการปรากฎอยู่ของปราสาทนครวัดอันอลังการยิ่ง
      หากแต่การสร้างปราสาทนครวัด ก็คือการเริ่มต้นจุดเสื่อมของอาณาจักรแห่งนี้ ด้วยปัญหาการแก่งแย่ง แย่งชิงอำนาจในราชสำนัก เมื่อภายในอ่อนแอ ภายนอกก็ยากที่จะต้านทานศัตรูได้
 ในที่สุดพระนครหลวง หรือกรุงศรียโศธรปุระ ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของพระเจ้าอู่ทอง พระราเมศวร และปิดฉากอาณาจักรขอมเมื่อพระเจ้าสยาม ยาตราทัพเข้าไปยึดครองอย่างเบ็ดเสร็จ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าธรรมโศกราช
      จากนั้น ขอมก็แตกกระจาย กลายเป็นชาติพันธุ์ที่สูญหายไปจากโลกนี้ ทิ้งไว้เพียงปราสาทหินที่ยิ่งใหญ่บอกความศรัทธาที่ขอมเคยมีต่อความเชื่อในสายฮินดูและพราหมณ์ อันสืบทอดมาจากโกณฑัณญะ ปฐมกษัตริย์ ตั้งวางเรียงรายจากเสียมเรียบ ถึงพิมาย
      ขอมหาใช่เขมร ปราสาทหินพระวิหารก็ไม่ใช่ของเขมรหรือไทย ประสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เป็นสมบัติของโลก ของมนุษยชาติ และนั่นเป็นความหมายที่จริงแท้ที่สุด 

แฉ!หน่วยข่าวกรองปากีฯ ช่วยกบฏสู้ในอัฟกาฯ - ข่าวไทยรัฐออนไลน์

แฉ!หน่วยข่าวกรองปากีฯ ช่วยกบฏสู้ในอัฟกาฯ - ข่าวไทยรัฐออนไลน์


"วิกิลีคส์" แพร่เอกสารลับ ระบุหน่วยข่าวกรองปากีสถาน ช่วยเหลือกลุ่มหัวรุนแรง "ตาลีบัน" วางยุทธศาสตร์สู้ศึก สงครามกวาดล้างผู้ก่อการร้ายของทหารสหรัฐฯในอัฟกานิสถาน...

เว็บไซต์ขององค์กร “Wikileaks” (วิกิลีคส์) เผยแพร่เอกสารลับ 92,000 ชุดของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เกี่ยวกับสงครามอัฟกานิสถานช่วงปี 2547-2553 เอกสารชุดหนึ่งระบุว่า ปากีสถานคอยช่วยเหลือกลุ่มหัวรุนแรงในอัฟกานิสถานรวมทั้งกลุ่มตาลีบันอย่างลับๆ ทั้งท่ีปากีสถานรับความช่วยเหลือมหาศาลจากสหรัฐฯ เพื่อให้ช่วยทำสงครามกวาดล้างผู้ก่อการร้าย

เอกสารของวิกิลีคส์ซึ่งถูกส่งถึงนสพ.นิวยอร์ก ไทม์ส ของสหรัฐฯ เดอะ การ์เดียน ของอังกฤษ และเดอ สปีเกล ของเยอรมนี ระบุว่า ผู้แทนหน่วยข่าวกรองระหว่างประเทศของปากีสถาน (ไอเอสไอ) ร่วมประชุมกับกลุ่มตาลีบันหลายครั้งเพื่อวางยุทธศาสตร์ต่อสู้กับทหารสหรัฐฯ ส่วนอิหร่านก็ลอบช่วยเหลือกลุ่มตาลีบันในอัฟกานิสถานด้วย ทั้งด้านเงินทุน อาวุธ การฝึกอบรมและให้ท่ีพักพิง

ด้านรัฐบาลสหรัฐฯ แถลงประนามการเผยแพร่เอกสารลับนี้ว่า "ไร้ความรับผิดชอบ" อาจเป็นภัยต่อชีวิตทหารอเมริกันและความมั่นคงของสหรัฐฯ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ เพราะสหรัฐฯ ตั้งข้อสงสัยมานานแล้วว่าไอเอสไอมีสายสัมพันธ์กับตาลีบัน และยืนยันว่าจะไม่กระทบต่อการทำสงครามอัฟกานิสถาน

ขณะท่ีนายฮูเซน ฮักกานี เอกอัครราชทูตปากีสถานประจำสหรัฐฯ ก็ประนามการเผยแพร่เอกสารลับนี้ว่าไร้ความรับผิดชอบ และระบุว่าเป็นรายงานท่ียังไม่กลั่นกรองจากสมรภูมิรบ

การเผยแพร่เอกสารลับครั้งนี้มีขึ้นในขณะท่ีกลุ่มตาลีบันเผยว่าจับกุมทหาร อเมริกัน 2 นายท่ีพลัดหลงเข้าไปในเขตแดนของตนและสังหารทิ้งแล้ว 1 นาย

วันเดียวกัน มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 26 คน บาดเจ็บอีกกว่า 20 คนจากอุบัติเหตุรถบัสโดยสารพลิกคว่ำท่ีอ.ดามาน ใกล้เมืองกันดาฮาร์ ทางภาคใต้อัฟกานิสถาน.

2แพทย์ศิริราชคว้า2รางวัลนักวิทย์เด่นวิจัยหวัดนก

สองแพทย์ศิริราชพยาบาลควงคู่รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นปี 53 จากผลงานวิจัยไวรัสหวัดนกและโปรตีนวินิจฉัยโรคในระดับโมเลกุล นำไปสู่การพัฒนาเทคนิคใหม่เพื่อการรักษา รอรับพระราชทานรางวัล 9 สิงหาคม 2553
ผู้ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ครั้งที่ 29 ประจำปี 2553 ได้แก่ ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล และนพ.วิศิษฐ์ ทองบุญเกิด จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งสองเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษางานวิจัยขึ้นพื้นฐาน และมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ
 "งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับไข้หวัดนก ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า งานวิจัยสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็น ซาร์ส ไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่ องค์ความรู้ที่ได้จะนำไปสู่กลไกการป้องกัน เพราะความเสี่ยงของโรคอุบัติใหม่ยังคงมีอยู่ หากมีความรู้มากพอ ก็จะช่วยให้เราควบคุมโรคได้มากขึ้น

ในส่วนของนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำปี 2553 คัดเลือกได้ 6 คน ประกอบด้วย ดร.เครือวัลย์ จันทร์แก้ว คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่หรือสึนามิในไทย, ดร.ชนากานต์ พรมอุทัย คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพิ่มมูลค่าข้าวเสริมธาตุเหล็กและสังกะสี, ดร.บรรจง บุญชม ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ศึกษาสารเคลือเซรามิกที่ไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม,
 ดร.วีระวัฒน์ แช่มปรีดา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ศึกษาการย่อยของเอนไซม์เพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ, ผศ.สอาด ริยะจันทร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้พัฒนายางธรรมชาติให้มีคุณสมบัติทนน้ำมัน และดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ จากการศึกษาอนุภาคนาโนเพื่อพัฒนาระบบนำส่งยา
http://www.komchadluek.net/detail/20100804/68810/2แพทย์ศิริราชคว้า2รางวัลนักวิทย์เด่นวิจัยหวัดนก.html

รวบรวมการแถลงข่าวชี้แจงกรณีปราสาทพระวิหารและจ.ม.จากเจ้าศรีสวัสดิ์ถึงนายกรัฐมนตรีไทย

http://www.mfa.go.th/web/2662.php?id=36257
เปิดจ.ม."เจ้าศรีสวัสดิ์"ที่ปรึกษากษัตริย์กัมพูชา ถึง"มาร์ค" พระวิหารสัญลักษณ์ปรองดอง 

แถลงการณ์"สุขุมพันธุ์" ยัน"เอ็มโอยู 2543" เครื่องประกันไม่ให้ไทยเสียดินแดน

หมายเหตุ - ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในฐานะอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ออกแถลงการณ์ ชี้แจงถึงกรณีการทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาหรือเอ็มโอยู ปี 2543 ขณะที่ เจ้าศรีสวัสดิ์ โธมิโก พระราชนัดดาในองค์สมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระราชบิดาในสมเด็จนโรดม สีหมุนี พระมหากษัตริย์กัมพูชา ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาในองค์กษัตริย์กัมพูชา อันเป็นตำแหน่งเทียบเท่าตำแหน่งรัฐมนตรี ได้ส่งจดหมายถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 2 สิงหาคม ขอให้ทั้งสองชาติสมานฉันท์กัน มีรายละเอียดดังนี้




เปิดจ.ม."เจ้าศรีสวัสดิ์"ถึง"มาร์ค" พระวิหารสัญลัปรองดอง
ปักกิ่ง 2 สิงหาคม 2553
เรียน ฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย
ผ่านสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา
เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี

กรุณานำความขึ้นกราบบังคมทูลฯต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงพระกรุณาทราบถึงความเคารพยิ่งและความปรารถนาในอันที่จะถวายพระพรให้ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ให้ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงและมีรัชสมัยที่รุ่งเรืองยืนยาว
ข้าพเจ้าขอแสดงความชื่นชมมายัง ฯพณฯ และต่อบรรดาสมาชิกในคณะรัฐบาลของราชอาณาจักรไทย

ข้าพเจ้ารู้สึกชื่นชมต่อการที่ราชอาณาจักรไทยประสบผลในการพัฒนาการอันน่าประทับใจอย่างยิ่งทั้งในทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการยึดมั่นในด้านการศึกษาอย่างเข้มแข็งอันเป็นรากฐานให้ประเทศเติบโต และข้าพเจ้ายังซาบซึ้งเป็นพิเศษต่อราชอาณาจักรไทยที่ได้แสดงบทบาทสำคัญในอดีตที่ผ่านมา เมื่อไม่นานมานี้ในการให้ความช่วยเหลือกัมพูชาจนสามารถฟื้นฟูอธิปไตยและนำไปสู่การยุติความขัดแย้งและทนทุกข์ทรมานนานสองทศวรรษลง

ชาวเขมรไม่มีปรารถนาอื่นใดนอกเหนือจากการเยียวยาบาดแผลในอดีตและดำรงชีวิตอย่างสันติ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสมาชิกของประชาคมนานาชาติ ประชาคมโลก และสมาชิกขององค์กรต่างๆ ในระดับภูมิภาค กัมพูชาปรารถนาที่จะบรรลุถึงพัฒนาการต่างๆ อย่างสมานฉันท์กับทุกๆ ประเทศ เพื่อทำนุบำรุงให้เกิดความสัมพันธ์ฉันมิตรและความร่วมมือซึ่งกันและกันกับทุกๆ ประเทศ และเหนือสิ่งอื่นใดกับบรรดาประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดโดยตรงของเรา

ราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทย มีประวัติศาสตร์อันยาวนานร่วมกัน แท้จริงแล้วไม่เพียงมีร่องรอยแห่งความขัดแย้งแต่ยังมีห้วงเวลาแห่งสันติที่ซึ่งการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันระหว่างประเทศทั้งสองยังประโยชน์ใหญ่หลวงให้กับทั้งสองประเทศ เรามีอารยธรรม, วัฒนธรรม และศาสนา ร่วมกัน ไม่ว่าสิ่งใดๆ ที่แบ่งแยกระหว่างเราเอาไว้ ไม่อาจแข็งแกร่งเท่ากับสิ่งต่างๆ ซึ่งผูกพันเราเข้าไว้ด้วยกันแน่นอน

ด้วยเหตุผลทั้งหลายนี้ความเจ็บปวดในการได้เป็นประจักษ์พยานต่อการเสื่อมทรามลงอย่างรวดเร็วของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเราทั้งสองที่เกิดขึ้นตลอด 2 ปีที่ผ่านมาจึงมีสูงมากเป็นพิเศษ เป็นการง่ายที่ประชาชนของทั้งสองประเทศจะถูกปลุกปั่นด้วยโวหารของกลุ่มคนคลั่งชาติจำนวนน้อย แต่คุณค่าของสันติในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาควรทำให้เข้าใจกระจ่างด้วยว่า การอ้างสิทธิเหนือดินแดนซึ่งกลายเป็นกระแสนิยมและวาทกรรมทางการเมืองอย่างมากเมื่อไม่นานมานี้มีพื้นฐานใดๆ รองรับ

โดยข้อเท็จจริงแล้ว ประวัติศาสตร์ดังกล่าว ไม่ได้งดงามนัก แนวเขตแดนระหว่างประเทศของเราทั้งสองนั้นแท้จริงแล้วถูกกำหนดให้เราโดยมหาอำนาจเจ้าของอาณานิคม ซึ่งไม่ได้ให้ความเคารพอื่นใดนอกเหนือจากผลประโยชน์แห่งตนเท่านั้น ในขณะที่ราชอาณาจักรไทยไม่ได้ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ทั้งชาวเขมรและชาวไทยก็สามารถยึดถือได้ว่าพวกตนล้วนตกเป็นเหยื่อของเจ้าอาณานิคมในอดีตเหล่านี้

ข้าพเจ้าเข้าใจถึงความรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมที่เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนไทยต่อการบีบบังคับที่กระทำต่อพวกเขาโดยมหาอำนาจต่างชาติ ในฐานะเป็นชาวกัมพูชา ข้าพเจ้าไม่อาจลืมได้ว่า ชาร์ลส์ ทอมสัน ผู้สำเร็จราชการแคว้นโคชินไชน่า นำปืนมาจัดเรียงไว้ด้านหน้าพระราชวัง เพื่อบีบบังคับให้สมเด็จพระนโรดมสีหนุ ลงพระปรมาภิไธยในสนธิสัญญาอื้อฉาวเมื่อปี 1884 เช่นเดียวกันข้าพเจ้าก็ไม่อาจลืมได้ว่า สนธิสัญญา 1896 นั้น รับรองบังคับใช้โดยอังกฤษและฝรั่งเศสถือเป็นการหยามหมิ่นทั้งต่อกัมพูชาและไทย

การอ้างสิทธิเหนือดินแดนของคนไทยในปัจจุบันเหนือพระวิหารนั้น เป็นการใช้สภาพภูมิศาสตร์เป็นบรรทัดฐานในการอ้างความชอบธรรม ก็เป็นเช่นเดียวกับในปี 1954 คือ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วไม่อาจเปลี่ยนแปลงอะไรได้อีก เช่นเดียวกันกับการแสดงให้เห็นว่า สนธิสัญญาเขตแดนปี 1904 นั้น ไม่เป็นธรรมเพียงใด ทั้งนี้ เป็นความจริงที่ว่า ภูมิประเทศทางธรรมชาติต่างๆ เช่น ธารน้ำ แนวสันปันน้ำ แนวสันเขา เส้นลาดชันต่างๆ ล้วนนำมาใช้ในการปักปันเขตแดนระหว่างประเทศ แต่ขอให้ระลึกไว้เช่นกันว่า ข้อพิจารณาว่าด้วยชาติพันธุ์และภาษาก็ถือเป็นเกณฑ์สำคัญในเรื่องนี้ด้วยเช่นเดียวกัน

จากมุมมองนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า สนธิสัญญาเขตแดนปี 1904 ทำให้ชาวเขมรเป็นเรือนล้านต้องแยกจากมาตุภูมิ กัมพูชาถูกตัดแบ่งเป็นส่วนๆ และปล่อยให้อยู่ภายใต้อำนาจต่างชาติเป็นการดูแคลนความคาดหวังของประชาชนกัมพูชาอย่างเต็มที่ หากประเทศของเราทั้งสองอ้างอิงถึงความไม่เป็นธรรมในประวัติศาสตร์ ก็ควรจะเห็นได้ชัดเจนว่ากัมพูชาต้องแบกรับไว้มากกว่า

ต้องตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่า ในยุคดังกล่าว สิทธิของประชาชนในอันที่จะเลือกวิถีของตนเองอย่างอิสระไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศ กระนั้น ผลที่บังเกิดขึ้นในเวลานี้ก็คือ มีชาวเขมรเป็นจำนวนมากอาศัยอยู่ภายนอกประเทศรวมทั้งในไทยมากกว่าภายในดินแดนของกัมพูชาเอง หากหลักเรื่องชาติพันธุ์และภาษาถูกนำมาใช้ในการปักปันเขตแดนระหว่างกัมพูชาและไทย ผลที่ได้คงแตกต่างจากที่เป็นอยู่โดยสิ้นเชิง

ตัวอย่างของอดีตรัฐยูโกสลาเวีย ที่ถูกมหาอำนาจสร้างขึ้นอย่างจอมปลอมโดยไม่ให้ความสนใจความเป็นจริงในเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์ นำไปสู่ความขัดแย้งในโครเอเชีย บอสเนีย และโคโซโว เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าการครอบงำบิดเบือนเหล่านั้นเปราะบางเพียงใดและผลลัพธ์นั้นเลวร้ายเพียงใด

ในแง่นี้ ตราบเท่าที่นำเอาความเป็นชาตินิยมสุดโต่งมาคำนึง กัมพูชาควรมีสิทธิเต็มเปี่ยมในการบอกเลิกสนธิสัญญาปี 1904 เพื่อให้สามารถนำเอาหลักว่าด้วยชาติพันธุ์และภาษามาร่วมพิจารณาด้วย หลังจากนั้น ก็จะไม่มีประเด็นเรื่องพระวิหารอีกต่อไป เพราะพระวิหารและพื้นที่โดยรอบจะอยู่ลึกเข้าไปในดินแดนกัมพูชา อย่างที่เคยเป็น

อย่างไรก็ตาม นับแต่ได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์ในปี 1953 ภายใต้การนำของเจ้าสีหนุในเวลานั้น กัมพูชาเพียงเรียกร้องขอให้เพื่อนบ้านทั้งหลายและประชาคมนานาชาติยอมรับโดยนิตินัย ถึงแนวเขตแดนตามที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาต่างๆ ในช่วงศตวรรษที่ 20 และเรื่องนี้ยังคงเป็นเช่นนี้ในปัจจุบัน กัมพูชาไม่เคยเรียกร้องอื่นใดนอกจากนี้

ประเทศของเราถูกกำหนดให้อยู่เคียงข้างกันและกัน เราต่างเป็นสมาชิกอาเซียน องค์กรของภูมิภาคซึ่งมีความปรารถนาจะเปิดพรมแดนระหว่างชาติสมาชิกเพื่อให้พลังแห่งการสร้างสรรค์เป็นอิสระและกลายเป็นที่มาของพัฒนาการอันยั่งยืน การหยิบยกเรื่องการกล่าวอ้างถึงสิทธิเหนือดินแดนถือเป็นความพยายามกระทำการเสมือนโฉบผ่านหน้าประวัติศาสตร์และเป็นอันตรายต่อประชาชนของเรา ด้วยการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรที่อาจหลั่งไหลเข้ามาลงทุนในการพัฒนาและต่อสู้กับความยากจนของทั้งสองด้านแห่งแนวเขตแดนร่วมของเรา

ในฐานะชาวกัมพูชาผู้หนึ่ง ข้าพเจ้าเชื่อว่าชาวเขมรนับล้านต่างรู้สึกเช่นเดียวกันนี้ ความปรารถนาที่สุดของข้าพเจ้านั้นคือ การที่ ฯพณฯ จักมองปราสาทพระวิหารว่าเป็นสัญลักษณ์อันยืนนานของความปรองดองระหว่างประเทศของเราทั้งสอง เป็นสัญลักษณ์แห่งความสมานฉันท์ในความสัมพันธ์ระหว่างกัน ตลอดจนเป็นแบบอย่างของความร่วมมืออันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งระหว่างประเทศเพื่อนบ้านสองประเทศ

ขอให้ท่านมั่นใจได้ว่าข้าพเจ้ายังให้การนับถือท่านอย่างสูง

(ลงนาม)   ศรีสวัสดิ์ โธมิโก

------------------------------------------------

แถลงการณ์"สุขุมพันธุ์" ยัน"เอ็มโอยู 2543" เครื่องประกันไม่ให้ไทยเสียดินแดน

บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาหรือเอ็มโอยูว่าด้วยการสำรวจและการจัดทำหลักเขตแดนทางบก ที่ลงนาม ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543 นั้น เป็นเอ็มโอยูเพื่อส่งเสริมสัมพันธไมตรีของรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศที่มีเจตนารมณ์ตรงกันในเรื่องความจำเป็นที่ต้องจัดทำหลักเขตแดนทางบกขึ้น

เนื่องจากหลักเขตซึ่งจัดทำโดยคณะปักปันเขตแดนร่วมกรุงสยามและประเทศฝรั่งเศสนั้นสูญหาย ชำรุด หรือ ถูกเคลื่อนย้ายในช่วงเวลาเกือบ 100 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เกิดสงครามในกัมพูชาเป็นเวลากว่า 20 ปี

ทั้งนี้ การสำรวจและการจัดทำหลักเขตแดนทางบกนั้นเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน และในทางปฏิบัติมีอุปสรรคนานัปการในการดำเนินการ ดังนั้น วิธีดำเนินการที่ดีที่สุดคือ การดำเนินการจัดทำหนังสือสัญญา เพื่อนำไปใช้เป็นกรอบและประเด็นอ้างอิงในการดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนใหม่

ซึ่งหนังสือสัญญาดังกล่าวเป็นข้อผูกมัดในเรื่องวิธีการดำเนินการเท่านั้น ไม่ได้เป็นข้อผูกมัดถึงผลของการดำเนินการ นอกจากนี้ บันทึกลงนามความเข้าใจหรือเอ็มโอยูนั้นประเทศไทยก็เคยทำกับประเทศเพื่อนบ้านถึง 2 ประเทศมานานแล้วคือ มาเลเซียและลาว

ทั้งนี้ สาระสำคัญในเอ็มโอยู ไทยและกัมพูชาตกลงกันว่าวิธีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนนั้นจะดำเนินการในแนวทางตามเอกสารสำคัญคือ 1.อนุสัญญาระหว่างกรุงสยามและฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1904 2.สนธิสัญญาระหว่างพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยามและประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ.1907 และ 3.แผนที่ซึ่งเป็นผลของการปักปันเขตแดน โดยคณะกรรมาธิการร่วมอินโดจีน-สยามตลอดจนเอกสารอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวโยงกับหนังสือสัญญาทั้งสอง นอกจากนี้ ไทยและกัมพูชายังตกลงกันว่าจะให้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) และจัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านเทคนิคเพื่อสำรวจแนวเขตแดนและเสนอตำแหน่งที่จะจัดทำหลักเขตแดน โดยขณะที่กำลังสำรวจเขตแดนนั้นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดในสภาพแวดล้อมของบริเวณพื้นที่เขตแดนดังกล่าวด้วย

ดังนั้น หากทั้ง 2 ฝ่ายไม่สามารถได้ข้อสรุปในกรอบการทำงานก็ไม่สามารถเริ่มต้นการทำงานได้ อีกทั้งการยอมรับอนุสัญญาปี ค.ศ.1904 และสนธิสัญญาปี ค.ศ.1907 เป็นเอกสารพื้นฐานไม่ได้ทำให้ฝ่ายใดเสียเปรียบ

ส่วนการยอมรับแผนที่ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการปักปันเขตแดนโดยคณะกรรมาธิการร่วมอินโดจีน-สยามนั้น เป็นเพียงองค์ประกอบของการดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขต ซึ่งหากแผนที่ฉบับใดฉบับหนึ่ง ไม่เป็นที่ยอมรับของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในการวินิจฉัยกรณีปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 หรือขัดกับหนังสือสัญญาทั้งสอง ทั้งสองฝ่ายสามารถเจรจาหาข้อยุติได้ แต่ถ้าไม่สามารถหาข้อยุติได้ ก็สามารถชะลอการพิจารณาไปก่อนได้เช่นกัน

ในมาตรา 5 ของเอ็มโอยู ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อไทยเนื่องจากเป็นหลักประกันว่ากัมพูชาจะไม่ทำถนนเข้าพื้นที่ และจะดูแลไม่ให้มีการสร้างสิ่งปลูกสร้างเพิ่มเติม

แต่ปรากฏว่าช่วงนั้นตรงกับช่วงที่กัมพูชาเริ่มทำถนนเข้าไปในพื้นที่ซึ่งมีการอ้างสิทธิอธิปไตยทับซ้อน รวมทั้งชาวกัมพูชาได้เข้ามาสร้างสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ เท่ากับว่าตั้งแต่ปี 2544 กัมพูชาไม่ได้ทำตามคำมั่นสัญญา ปล่อยให้ชาวกัมพูชาเข้ามาสร้างสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ซึ่งมีการอ้างสิทธิอธิปไตยทับซ้อน โดยที่รัฐบาลไทยในขณะนั้นไม่ได้ทักท้วง

นอกจากนี้ เอ็มโอยูฉบับนี้ยังเป็นกรอบสำคัญในการบริหารจัดการปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชาด้วย โดยเห็นได้จากการที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จัดการประชุมเจบีซี (คณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา) ขึ้นถึง 3 ครั้งในช่วงที่เกิดข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศใช้เอ็มโอยูฉบับนี้เป็นเอกสารอ้างอิงในการทักท้วงทุกครั้งไป

ทั้งนี้ เอ็มโอยูฉบับนี้ ยังไม่มีรัฐบาลของฝ่ายใดเสียเปรียบ แม้แต่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ (ตั้งแต่ปี 2544) และรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ได้นำเอ็มโอยูนี้ไปใช้ ซึ่งหากสร้างความเสียหายแก่ฝ่ายไทยจริงก็คงมีการวิพากษ์วิจารณ์มาก่อนหน้านี้แล้ว และอาจดำเนินการแก้ไขเนื้อหาด้วยโดยอ้างเหตุผลว่ารัฐบาลสมัยพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำได้ดำเนินการไปอย่างไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ ผลของการดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนตามเอ็มโอยูนี้จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเห็นพ้องต้องกันในทุกประเด็น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถยอมรับในประเด็นใดๆ ก็ตาม สามารถชะลอการพิจารณาไปก่อนได้ เพราะไม่มีอำนาจใดบังคับให้เกิดการยอมรับในสิ่งที่ไม่ต้องการได้

ยิ่งไปกว่านั้นผลสรุปของเจบีซีไม่ใช่คำตอบสุดท้าย เพราะจะต้องได้รับความเห็นชอบโดยคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาอีกด้วย ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าเอ็มโอยูฉบับนี้เป็นเครื่องประกันไม่ให้ไทยต้องสูญเสียดินแดนในพื้นที่ที่อ้างสิทธิอธิปไตยทับซ้อนกัน
--------------------------------------------------------------------------

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สกู๊ปพิเศษ พระวิหารจากความเสี่ยงสู่การปกป้องอธิปไตย

ลำดับเหตุการณ์ที่เริ่มจากแถลงการณ์ร่วมระหว่างรัฐบาลไทย กับรัฐบาลกัมพูชา ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช เหตุใดจึงลามลุกไปไกลถึงขั้นที่ไทยจะเสียดินแดนให้กับกัมพูชา เกิดอะไรขึ้นใน แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2551 แล้วศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ล้วนแล้วแต่มองไปในทิศทางเดียวกันที่ว่า แถลงการณ์ร่วมนอกจากขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 แล้ว "นพดล ปัทมะ" ได้กลายเป็นตัวการทำให้ชาติวุ่นวาย และนี่คือลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
http://www.atnnonline.com/Special-Report/พระวิหารจากความเสี่ยงสู่การปกป้องอธิปไตย.html


'บันทึก'กรรมการมรดกโลกไทยที่บราซิ
การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญ ครั้งที่ 34
วันที่ 27 กรกฎาคม 2553
เวลา 15.00 คณะผู้แทนไทย ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงวัฒนธรรม ได้เข้าร่วมหารือกำหนดท่าทีของฝ่ายไทยในการประชุมวาระ บี เรื่อง สถานะของ การอนุรักษ์ทรัพย์สินที่ขึ้นทะเบียนมรดกโลกแล้วลำดับที่ 65 (ซึ่งเดิมอยู่ในลำดับที่ 66) เรื่อง ปราสาทพระวิหาร (กัมพูชา) [Temple of Preah Vihear (Cambodia)] ณ ห้องพักของนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โรงแรมรอยัลทิวลิป เมืองบราซิเลีย ประเทศบราซิล
ในการนี้ ฝ่ายความมั่นคง คือ กรมแผนที่ทหารได้แสดงภาพถ่ายบริเวณพื้นที่ปราสาทพระวิหารจากมุมสูง ซึ่งได้บันทึกไว้เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2553 ให้แก่คณะผู้แทนไทยเพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดท่าที โดยฝ่ายความมั่นคง ได้ชี้แนวเขตอธิปไตยของไทยตามคำพิพากษาของศาลปกครอง รวมทั้งจุดวางอาวุธหนักของกัมพูชาในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร
โดยที่ประชุมได้ขอให้คณะผู้แทนไทย นำเสนอภาพดังกล่าวหากจำเป็นหรือหากตกอยู่ในสถานการณ์ที่เพลี่ยงพล้ำ นอกจากนั้น ยังมีการกำหนดท่าทีที่พร้อมจะวอล์คเอาท์ออกจากห้องประชุม และอาจจะประกาศลาออกจากภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ (Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage) หากจำเป็นต้องดำเนินการ เพื่อกดดันที่ประชุ